วิกิคำราชาศัพท์ (Royal Languages) ที่ควรรู้

คำราชาศัพท์ (Royal Languages) ที่ควรรู้

%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C.jpg

คำราชาศัพท์ หมายความว่า ศัพท์หลวง ศัพท์ราชการ และหมายรวมถึงคำสุภาพซึ่งนำมาใช้ให้ถูกต้องตามชั้นหรือฐานะของบุคคล บุคคลผู้ที่พูดต้องใช้ราชาศัพท์ด้วย คำราชาศัพท์ ตามรูปศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้กับพระมหากษัตริย์แต่ในปัจจุบัน คำราชาศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำสุภาพ ไพเราะที่ใช้ให้เหมาะกับฐานะของบุคคลในสภาพสังคมไทย กำหนดโดยราชบัณฑิตยสถานแห่งประเทศไทย

คำราชาศัพท์ ที่นำมาแสดงนี้เป็นส่วนหนึ่งของราชาศัพท์ที่คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย ของราชบัณฑิตยสถาน กำลังพิจารณาจัดทำหลักเกณฑ์การใช้ ซึ่งในที่นี้ได้เลือกคำที่ใช้ราชาศัพท์คำเดียวกันกับทุกลำดับชั้นมาเสนอ คือใช้กับพระมหากษัตริย์ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า ทั้งนี้ราชาศัพท์ยังมีใช้แตกต่างกันตามลำดับชั้นของเจ้านายด้วย นอกจากนี้ แม้ทราบว่าคำสามัญคำใดใช้ราชาศัพท์คำใดและใช้กับพระมหากษัตริย์หรือเจ้านาย ลำดับชั้นใดแล้ว ยังต้องพิจารณาบริบทหรือข้อความแวดล้อมในประโยคหรือข้อความที่นำราชาศัพท์ไป ใช้ด้วยเพื่อให้สื่อความหมายได้อย่างถูกต้องและชัดเจน

คำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่างๆ คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของไทย แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงในความหมายเดียวกัน และเป็นลักษณะพิเศษของภาษาไทยโดยเฉพาะ ซึ่งใช้กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้

จะต้องใช้คำราชาศัพท์กับบุคคล 5 ประเภท คือ

  1. พระมหากษัตริย์
  2. พระบรมวงศานุวงศ์
  3. พระสงฆ์
  4. ข้าราชการชั้นสูงหรือขุนนาง
  5. สุภาพชนทั่วไป

บุคคลในกลุ่มที่ 1 และ 2 จะใช้ราชาศัพท์ชุดเดียวกัน เช่นเดียวกับบุคคลในกลุ่มที่ 4 และ 5 ก็ใช้คำราชาศัพท์ในชุดเดียวกัน และเป็นคำราชาศัพท์ที่เราใช้อยู่เป็นประจำในสังคมมนุษย์ เราถือว่าการให้เกียรติแก่บุคคลที่เป็นหัวหน้าชุมชน หรือผู้ที่ชุมชนเคารพนับถือนั้น เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของมนุษยชาติ ทุกชาติ ทุกภาษา ต่างยกย่องให้เกียรติแก่ผู้เ ป็นประมุขของชุมชนด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นแทบทุกชาติ ทุกภาษาจึงต่างก็มีคำสุภาพสำหรับใช้กับประมุขหรือผู้ที่เขาเคารพนับถือ จะมากน้อยย่อมสุดแต่ขนบประเพณีของชาติ และจิตใจของประชาชนในชาติว่ามีความเคารพในผู้เป็นประมุขเพียงใด เมืองไทยเราก็มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติ และพระประมุขของเรา แต่ละพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถ จึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีความ เคารพสักการะอย่างสูงสุดและมีความจงรกภักดีอย่างแนบแน่นตลอดมานับตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน คำราชาศัพท์เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยใด

ในแหล่งอ้างอิงบางฉบับได้ให้ข้อสันนิษฐานไว้ว่า คนไทยเริ่มใช้คำราชาศัพท์ในรัชสมัยพระธรรมราชาลิไท พระร่วงองค์ที่ 5 แห่งสุโขทัย เพราะศิลาจารึกต่างในแผ่นดินนั้น รวมทั้งบทพระราชนิพนธ์ของท่าน คือ ไตรภูมิพระร่วง ปรากฏว่ามีคำราชาศัพท์อยู่หลายคำ เช่น ราชอาสน์ พระสหาย สมเด็จ ราชกุมาร เสด็จ บังคม เสวยราชย์ ราชาภิเศก เป็นต้น

บางท่านกล่าวว่า คำราชาศัพท์นั้นเริ่มใช้ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพราะพระปฐมบรมกษัตริย์ที่ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา ทรงนิยมเขมร ถึงกับเอาลัทธิและภาษาเขมรมาใช้ เช่น เอาคำว่า "สมเด็จ" ซึ่งเขมรใช้เป็นคำนำพระนามพระเจ้าแผ่นดินมาเป็นคำนำพระนามของพระองค์ และใช้ภาษาเขมรเป็นราชาศัพท์

และจากหลักฐานที่พบข้อความในศิลาจารึกวัดศรีชุม กล่าวถึงเรื่องตั้งราชวงศ์และเมืองสุโขทัยตอนหนึ่งมีความว่า "พ่อขุนผาเมืองจึงอภิเสกพ่ขุนบางกลางหาวใหเมืองสุโขไท" คำว่า "อภิเษก" นี้เป็นภาษาสันสกฤต ไทยเรารับมาใช้สำหรับพิธีการแต่งตั้งตำแหน่งชั้นสูง จึงอยู่ในประเภทราชาศัพท์ และพิธีนี้มีมาตั้งแต่ราชวงศ์สุโขทัย จึงน่าสงสัยว่าในสมัยนั้นอาณาจักรสุโขทัยนี้ ก็คงจะมีการใช้คำราชาศัพท์บางคำกันแล้ว

คำราชาศัพท์แบ่งได้ 6 หมวด คือ

ที่มาของคำราชาศัพท์

คำราชาศัพท์ นั้น มีที่มาอยู่ 2 อย่าง คือ

  • รับมาจากภาษาอื่น ภาษาเขมร เช่น โปรด เขนย เสวย เสด็จ เป็นต้น ภาษาบาลี-สันสกฤต เช่น อาพาธ เนตร หัตถ์ โอรส เป็นต้น
  • การสร้างคำขึ้นใหม่ โดยการประสมคำ เช่น ลูกหลวงซับพระพักตร์ ตั้งเครื่อง เป็นต้น

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License