คำราชาศัพท์หมวดเครือญาติ

คำราชาศัพท์หมวดเครือญาติ

คำว่า ญาติ มาจากคำภาษาบาลี ญาติ (อ่านว่า ยา-ติ) ตามรูปศัพท์แปลว่า การรู้ หมายถึง ผู้ที่มีเชื้อสายเดียวกันและยังนับรู้กันได้ แต่ไม่รวมพ่อ แม่ ลูก สามี ภรรยา. ในภาษาไทยใช้ในความหมายใกล้เคียงกับในภาษาบาลี เช่น เขาเป็นคนมีญาติมาก. ลูกไม่ควรพูดล่วงเกินญาติผู้ใหญ่. งานทำบุญ ๑๐๐ วันคุณปู่ ถือได้ว่าเป็นงานรวมญาติ. คำที่ใช้เรียกญาติ มีหลายคำ ได้แก่ เทียด ทวด ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา หลาน เหลน ลื่อ ลืบ ลืด. พ่อแม่และพี่น้องนั้นนับเป็นญาติสนิท. นอกจากนี้ในสังคมไทยยังนับญาติของผู้ที่มาแต่งงานกับญาติคนใดคนหนึ่งของเราเป็นญาติด้วย ญาติในลักษณะนี้บางถิ่นเรียกว่า ดอง. การนับชั้นญาติมีการนับเป็นญาติผู้ใหญ่และญาติผู้น้อย. ญาติผู้ใหญ่หมายถึงญาติที่มีอายุมากกว่าหรือมีลำดับศักดิ์สูงกว่า ได้แก่พี่ น้า อา ลุง ป้า ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด เทียด. ญาติผู้น้อยหมายถึงญาติที่มีอายุน้อยกว่าหรือมีลำดับศักดิ์ต่ำกว่า ได้แก่ น้อง หลาน เหลน ลื่อ ลืบ ลืด

คำราชาศัพท์หมวดเครือญาติ

รายชื่อคำราชาศัพท์หมวดเครือญาติ พร้อมความหมาย ซึ่งคำราชาศัพท์นี้จะใช้กับพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ต่างๆ ที่อยู่ใน วิกิคำราชาศัพท์ ใช้กันให้ถูกนะคะ

  • พระอัยกา หมายถึง ปู่หรือตา
  • พระอัยยิกา หมายถึง ย่าหรือยาย
  • พระปัยกา หมายถึง ปู่ทวดหรือตาทวด
  • พระปัยยิกา หมายถึง ย่าทวดหรือยายทวด
  • พระชนกหรือพระราชบิดา หมายถึง พ่อ
  • พระชนนีหรือพระราชมารดา หมายถึง แม่
  • พระสสุระ หมายถึง พ่อสามี
  • พระสัสสุ หมายถึง แม่สามี
  • พระปิตุลา หมายถึง ลุงหรืออาชาย
  • พระปิตุจฉา หมายถึง ป้าหรืออาหญิง
  • พระมาตุลา หมายถึง ลุงหรือน้าชาย
  • พระมาตุจฉา หมายถึง ป้าหรือน้าหญิง
  • พระสวามีหรือพระภัสดา หมายถึง สามี
  • พระมเหสีหรือพระชายา หมายถึง ภรรยา
  • พระเชษฐา หมายถึง พี่ชาย
  • พระเชษฐภคินี หมายถึง พี่สาว
  • พระอนุชา หมายถึง น้องชาย
  • พระขนิษฐา หมายถึง น้องสาว
  • พระราชโอรสหรือพระเจ้าลูกยาเธอ หมายถึง ลูกชาย
  • พระราชธิดา, พระเจ้าลูกเธอ หมายถึง ลูกสาว
  • พระชามาดา หมายถึง ลูกเขย
  • พระสุณิสา หมายถึง ลูกสะใภ้
  • พระราชนัดดา หมายถึง หลานชายหรือหลานสาว
  • พระภาคิไนย หมายถึง หลานที่เป็นลูกของพี่สาวหรือน้องสาว
  • พระภาติยะ หมายถึง หลานที่ลูกของพี่ชาย หรือน้องชาย
  • พระราชปนัดดา หมายถึง เหลน

นอกจากนี้ยังมีคำราชาศัพท์หมวดอื่นๆอีก รวมกันจำนวนทั้งสิ้น 6 หมวดดังนี้

Unless otherwise stated, the content of this page is licensed under Creative Commons Attribution-ShareAlike 3.0 License